-
Notifications
You must be signed in to change notification settings - Fork 0
chokchai/RosaOS
Folders and files
Name | Name | Last commit message | Last commit date | |
---|---|---|---|---|
Repository files navigation
หมายเหตุ: คู่มือการติดตั้งโรซ่าโอเอสฉบับมีรูปภาพประกอบ สามารถศึกษาได้จาก ภาคผนวก ก. (โฟลเดอร์ Document) ขั้นตอนการติดตั้งโรซ่าโอเอส 1) คัดลอกไฟล์ของโรซ่าโอเอสทั้งหมดจากโฟลเดอร์ RosaOS ไปไว้บนเซิร์ฟเวอร์ตามตำแหน่งที่ต้องการ เช่น C:\AppServ\www\rosa\ จากตำแหน่งที่เราทำการวางโฟลเดอร์ ทำให้เราสามารถเข้าถึงโรซ่าโอเอสผ่านทางเว็บบราวเซอร์ด้วย URL http://localhost/rosa/ ซึ่งในตอนนี้ยังไม่พร้อมให้เข้าใช้งาน เราจะต้องทำการแก้ไขไฟล์ .htaccess ก่อน (วิธีการเปิดเพื่อให้ Apache ใช้งาน .htaccess ได้นั้นทำได้โดยการเปิดการทำงานของ mod-rewrite) การแก้ไขนั้นทำได้โดยเปิดไฟล์ .htaccess (C:\AppServ\www\rosa\.htaccess) ขึ้นมา และทำการแก้ไขโค้ดบรรทัดที่ 3 จากตัวอย่างจะแก้ไข RewriteBase เป็น /rosa/ เนื่องจากโฟลเดอร์ของโรซ่าโอเอสนั้นถูกเข้าถึงได้โดย http://localhost/rosa/ (หากสามารถเข้าถึงโรซ่าโอเอสได้โดย http://localhost/ ให้ทำการแก้ไข RewriteBase เป็น / ) 2) เข้าไปยัง URL ที่เป็นที่อยู่ของโฟลเดอร์โรซ่าโอเอสหรือ http://localhost/rosa/ หากระบบตรวจสอบแล้วว่าผู้ใช้ยังไม่ได้ทำการติดตั้งโรซ่าโอเอส จะแสดงหน้าจอการติดตั้งโรซ่าโอเอสขั้นตอนที่ 1 ที่หน้าจอการติดตั้งขั้นตอนที่ 1 ระบบจะทำการตรวจสอบความพร้อมของการติดตั้ง โดยสิ่งที่ระบบตรวจสอบ สามารถอธิบายได้ ดังนี้ • PHP: PHP ที่ติดตั้งอยู่บนเซิร์ฟเวอร์นั้นเป็นเวอร์ชั่นที่ใหม่กว่าเวอร์ชั่น 5 หรือไม่ • CodeIgniter Config File: ไฟล์สำหรับตั้งค่าของโรซ่าโอเอส (ci_application/config/config.php) สามารถแก้ไขได้หรือไม่ • CodeIgniter Database File: ไฟล์สำหรับตั้งค่าฐานข้อมูลของโรซ่าโอเอส (ci_application/config/database.php) สามารถแก้ไขได้หรือไม่ • RosaOS Folder: โฟลเดอร์หลักของโรซ่าโอเอส (rosa_os/) สามารถแก้ไขได้หรือไม่ • Apps Folder: Application Folder (rosa_os/apps/) สามารถแก้ไขได้หรือไม่ • Userfiles Folder: Userfiles Folder (rosa_os/users_file) สามารถแก้ไขได้หรือไม่ • ZipArchive: ไลบรารี่ ZipArchive ได้รับการติดตั้งไว้บนเซิร์ฟเวอร์หรือไม่ เมื่อระบบตรวจสอบแล้วว่ามีความพร้อมในการติดตั้ง (เงื่อนไขทุกข้อเป็น Yes) ให้กดปุ่ม Next เพื่อเข้าสู่ขั้นตอนที่ 2 3) ที่หน้าจอการติดตั้งขั้นตอนที่ 2 ระบบจะแสดงไฟล์สำหรับตั้งค่าของโรซ่าโอเอส ซึ่งผู้ใช้จำเป็นต้องแก้ไขข้อมูลบางส่วน นั่นคือ ในบรรทัดที่ 14 ของไฟล์ตั้งค่า ให้ผู้ใช้เปลี่ยนค่าของ URL ให้เป็นที่อยู่ของโฟลเดอร์ที่จัดเก็บไฟล์ทั้งหมดของโรซ่าโอเอส เช่น http://localhost/rosa/ เมื่อทำการแก้ไขค่า URL แล้วให้กดปุ่ม Next เพื่อเข้าสู่ขั้นตอนที่ 3 ซึ่งระบบจะแสดงไฟล์สำหรับตั้งค่าฐานข้อมูลของโรซ่าโอเอส 4) ในขั้นตอนที่ 3 ของการติดตั้ง ผู้ใช้จำเป็นต้องทำการแก้ไขค่าของข้อมูล ในบรรทัดที่ 40-44 ของไฟล์ตั้งค่า โดยทำการแก้ไขข้อมูล ดังนี้ • บรรทัดที่ 40 ให้ระบุค่าโฮสต์เนมให้กับฐานข้อมูล • บรรทัดที่ 41 ให้ระบุ Username สำหรับเข้าใช้งานฐานข้อมูล • บรรทัดที่ 42 ให้ระบุรหัสผ่านสำหรับเข้าใช้ฐานข้อมูล • บรรทัดที่ 43 ให้ระบุชื่อฐานข้อมูลที่ต้องการเชื่อมต่อ • บรรทัดที่ 44 ให้ระบุประเภทของฐานข้อมูล เช่น mysql, postgre, odbc, sqlite เป็นต้น เมื่อแก้ไขเสร็จสิ้นแล้ว ให้กดปุ่ม Next เพื่อเข้าสู่ขั้นตอนที่ 4 ซึ่งเป็นขั้นตอนในการสร้างบัญชีการใช้งานของผู้ดูแลระบบ 5) ในขั้นตอนที่ 4 ให้ทำการกรอกข้อมูลในแต่ละช่องให้ครบถ้วน โดยข้อมูลที่จำเป็นต้องกรอกนั้น ประกอบไปด้วย • Username: ชื่อบัญชีผู้ดูแลระบบ • Password: รหัสผ่านของบัญชีผู้ดูแลระบบ • Re-Password: ยืนยันรหัสผ่านของบัญชีผู้ดูแลระบบ (กรอกรหัสผ่านอีกครั้ง) • Email: อีเมลแอดเดรสของผู้ดูแลระบบ เมื่อกรอกข้อมูลครบถ้วนแล้วให้กดปุ่ม Next เพื่อเข้าสู่หน้าขั้นตอนที่ 5 ซึ่งเป็นอันเสร็จสิ้นขั้นตอนการติดตั้ง
About
Web Operating System : Senior Project @ KMITL
Resources
Stars
Watchers
Forks
Releases
No releases published
Packages 0
No packages published